บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

รูปสระ

ในทางภาษาศาสตร์นั้น เสียงในภาษามีความสำคัญกว่าอักษรในภาษา นักภาษาศาสตร์จะเน้นศึกษาที่ไปเสียงก่อน เพราะ ภาษาของมนุษย์มีมานมนาน มีระบบกฎเกณฑ์มานานแล้ว นักภาษาศาสตร์มาศึกษาระบบต่างๆ นั้น ในภายหลัง

ภาษาไทยมีเสียงพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์  เมื่อต้องการคิด “อักษร” ขึ้นแทนเสียงต่างๆ รูปสระเป็นปัญหามากที่สุดของภาษาไทย

เสียงพยัญชนะดูจะง่ายสุด คือ รูปไหนก็มีเสียงนั้นตลอดไป มีข้อยกเว้นน้อยมาก เช่น ตัวอักษร “ฑ” ในบางครั้งออกเสียงเหมือน “ด” 

กรณียกเว้นดังกล่าว ก็ไม่ได้เกิดกับภาษาไทยโดยตรง แต่เกิดจากการยืมคำ มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต ภาษาไทยแท้ๆ ไม่ปัญหาดังกล่าว

เสียงวรรณยุกต์ก็ไม่ค่อยจะวุ่นวายสับสนนัก (ซึ่งจะกล่าวถึงในบทความของวรรณยุกต์)

ในจำนวนเสียงสระ 24 เสียง หรือ 21 เสียง หรือ 32 เสียง ตามแต่จะใช้ตำราไหนนั้น มีรูปสระถึง 21 รูป ดังนี้


ตำแหน่งของสระมีสามารถอยู่ได้รอบตัวอักษร ทั้งข้างหน้า ข้างบน ข้างหลัง ข้างล่าง 

เมื่อถึงวิธีเขียนสระลงไป ก็มีหลักการที่อลวนอลหม่านกันพอสมควร ดังนี้

1) สระคงรูป คือ การเขียนสระตามรูปเดิมเมื่อประสมอักษร เช่น กะ เตะ โปะ เคาะ กอ กำ หัว เป็นต้น

สระ -ะ, เ-ะ, โ-ะ … ในคำที่ยกมาไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปเมื่อประสมอักษร

2) สระเปลี่ยนรูป คือ สระที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปเมื่อประสมอักษร เช่น กับ ( ก + “ ะ ” + บ) เจ็บ (จ + “ เ-ะ ” + บ) เกิน (ก + “ เ-อ” + น ) เป็นต้น

3) สระลดรูป คือ สระที่เขียนลดรูปเมื่อประสมอักษร เช่น ณ (ณ + “ ะ ”) งก (ง + “ โ-ะ ” + ก)

มีหลักการที่ควรจำในการการใช้สระ อะ อือ เอะ โอะ เอาะ ออ เออ อัว  ดังนี้

สระอะ (-ะ ) ใช้ได้หลายแบบ เขียนคงรูป เช่น กะ นะ เปลี่ยนรูป เช่น กัด จัน หรือ เปลี่ยนรูป เป็น ร หัน เช่น วรรณ ขรรค์ และเขียนลดรูป เช่น ณ ธ ทนาย พนักงาน อนุชา

สระอือ ( - ื )เขียนคงรูป เช่น ปืน ยืม เมื่อไม่มีตัวสะกดจะเปลี่ยนรูป โดยเพิ่ม อ เช่น มือ ถือ ดื้อ

สระเอะ ( เ-ะ) เขียนคงรูป เช่น เตะ เฟะ เปะ เมื่อมีตัวสะกดจะเปลี่ยนรูป เช่น เจ็บ เล็บ เห็บ เป็นต้น

สระโอะ (โ-ะ) เขียนคงรูป เช่น โปะ โต๊ะ เขียนลดรูป เมื่อมีตัวสะกด เช่น งก หก รก คม ลง

สระเอาะ (เ-าะ) เขียนคงรูป เช่น เคาะ เจาะ เหาะ เปลี่ยนรูปเมื่อมีตัวสะกด เช่น ก็อก น็อค ม็อบ

สระออ (-อ) เขียนคงรูป เช่น กอ หอย ลอย ฝอย ลดรูป เมื่อสะกดด้วย ร เช่น ถาวร วงจร ลูกศร วานร พร

สระเออ (เ-อ) เขียนคงรูป เช่น บำเรอ เธอ อำเภอ ลดรูปเมื่อสะกดด้วย ย เช่น เนย เสย เตย เขยเปลี่ยนรูปเมื่อมีตัวสะกดอื่น ๆ เช่น เกิน เหิน เริง เลิก เลิศ เนิบ

สระอัว ( - ัว) เขียนคงรูป เช่น หัว มัว รัว เขียนลดรูป เมื่อมีตัวสะกด เช่น ลวด กวน นวด บวก

รร (ร หัน) ใช้แทนสระอะ ได้ มักพบในคำที่มาจากภาษาอื่นเช่นภาษาสันสกฤตหรือภาษาเขมร เช่น บรรทม บรรทัด บรรเทา บรรเทิง บรรจบ กรรไกร สรรค์ สรร จำนรรจ์ ครรไล





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น